สุ่นปิ่น ครูผู้เป็นปูชนียบุคคล
ของเราชาวภูเก็ตไทยหัวชีวิตตราบจนสิ้นลมของสุ่นปิ่น แซ่ซึง นอกจากการทำหน้าที่แห่งความเป็นครูที่แท้แล้ว ท่านยังเป็นผู้วางรากฐานโรงเรียนจีนเก่าแก่แห่งนี้ตามปรัชญาการศึกษา“สู่ความเป็นเลิศทั้งสมอง จิตใจ และร่างกาย”ด้วยการปฏิบัติอย่างเต็มกำลังไม่ย่อท้อ ให้การศึกษาวิทยาการครอบคลุมจริยธรรม นาฏกรรม ดนตรี และกีฬาอย่างดีเยี่ยม สร้างรากฐานอันพอเพียงที่โรงเรียนแห่งนี้จะงอกงามต่อไป ชื่อเสียงและความสำเร็จของศิษย์เก่ามากมายเป็นประจักษ์พยาน แบบอย่างผู้มีสติปัญญา รักความรู้ และจิตใจกล้าหาญมั่นคงของครูสุ่นปิ่นเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ศิษย์และครูโรงเรียนภูเก็ตไทยหัว(ประศาสน์วิทยา)ให้ได้ใคร่ครวญถึงความเป็นผู้มีอุดมคติในชีวิตเสมอมา
ในสมัยครูสุ่นปิ่น แซ่ซึง ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ได้สร้างหลักการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จากแนวการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ล้ำยุคสมัย ก่อให้เกิดเป็นปรัชญาการจัดการศึกษา เพื่อการพัฒนาผู้เรียนที่เหมาะสม 5 ประการคือ
1. จริยธรรม รู้หน้าที่ความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ มีระเบียบ มีวินัย เคารพกฎกติกา
2. ปัญญา รอบรู้ ใฝ่เรียนใฝ่รู้ คิดสร้างสรรค์ มีประสบการณ์
3. สุขลักษณะ มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดี
4. สปิริต มีน้ำใจ รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย
5. สุนทรียศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี กีฬา
“ครูแท้ผู้ไม่แพ้ต่อความพยายาม”
ความพยายาม 1
ปี 2470 แอบเดินทางกลับไปเรียนต่อที่จีน จบแล้วกลับมาไทย เริ่มต้นชีวิตครูที่อยุธยาก่อนเดินทางมาเป็นครูใหญ่ที่โรงเรียนส่องเต็ก จังหวัดภูเก็ต
ความพยายาม 2
ปี 2484 หลบภัยขึ้นกรุงเทพฯ เมื่อโรงเรียนต้องปิดตัวลง ได้กลับมาภูเก็ตเมื่อสงครามโลกสงบ เป็นครูใหญ่โรงเรียนจุงหัว(ก่อนเปลี่ยนเป็นภูเก็ตไทยหัว)
ความพยายาม 3
ปี 2490 หลบภัยไปสอนที่โรงเรียนเต้าหมิง จังหวัดพังงา สุดท้ายได้กลับมายังภูเก็ตอีกครั้งในปี 2492 ในฐานะครูใหญ่โรงเรียนภูเก็ตไทยหัว เกษียณแล้วยังเกื้อกูลโรงเรียนอยู่จนถึงอายุ 73 ปี และจากไปในวัย 90